วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

อันตรายจากอาหารดิบต่าง ๆ

ระวัง  "พวกที่ชอบกินอาหารญี่ปุ่นจำพวก
ปลาดิบซูชิปลาดิบ..ระวังให้ดี"

           จากแพทย์ญี่ปุ่นซึ่งอ้างว่าได้ทำการผ่าตัดสมองของผู้ป่วยรายหนึ่งเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ผู้ป่วยคนนี้ ชื่อ โชตะ ฟูจิวารา อยู่ในเมืองกิฟูประเทศญี่ปุ่นเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาอย่างต่อเนื่องด้วยอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง และต่อเนื่องมานับกว่า   3 ปีจากการสอบประวัติในเบื้องต้น พบว่า "คนไข้เป็นนักกินปลาดิบตัวยง" ไม่ว่าจะเป็นการกินแบบมื้อหลักหรือมื้อรองกระทั่งมื้อทานเล่นคนไข้รายนี้

      กินปลาดิบไปก็ปวดหัวแม้จะพยายามหายากินเองหรือไปหาหมอพบแพทย์ก็ยังไม่หายปวดหัวเสียทีและยิ่งหนักขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่อาหารปวดหัวข้างเดียวที่เรียกกันว่าไมเกรนหลังสุดคุณหมอที่รับการรักษาชัก จะงงหนักเข้าไปทุกทีไม่ว่าจะให้ยาชนิดไหนแบบใดก็ไม่หายซะที ?


? ? ? ? ? ? ? ? ? ?...

         : จึงจับนายฟูจิวาราเข้าไปเอ็กซ์เรย์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแต่ก็ไม่เห็นผลอะไรได้ชัดเจน
        :  คุณหมอก็ยิ่งงงหนักเข้าไปอีกอาจด้วยไหวพริบของคุณหมอเองไปสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวอะไรแบบขะหยุกขะหยิกอยู่

            ที่ผิวหนังบนศีรษะของคนไข้นั่นแหละที่ทำให้คุณหมอจับคุณฟูจิวาราเข้าห้องผ่าตัดให้ ยาสลบแล้วก็ผ่ากะโหลกตรวจสอบตอนนี้ที่เกือบทำให้คุณหมอพลอยสลบตามคุณฟูจิวาราไปด้วยเพราะไปเจอกับเจ้าพยาธิกองเบ้อเริ่มคลานกันยั้วเย้ยอยู่ตามเนื้อสมองพร้อมกับ ไข่ที่เกลื่อนเต็มไปหมด  (ดังภาพ)



         เรื่องนี้จะยังไม่ได้รับการยืนยันชัดเจนจากหน่วยงานทางการแพทย์ของญี่ปุ่นแต่ภาพที่คณะแพทย์ได้ทำการถ่ายทำไว้พร้อมกับส่ง  แพทย์ในเมืองไทยทำให้ชวนวิตกกับนักกินปลาดิบชาวไทยยิ่งนักเพราะอาการกับภาพถ่ายที่ปรากฎนี้ไม่ได้ต่างกับที่เคยพบจากคนไข้จำนวนมากในเขตภาคอิสานซึ่งมักนิยมรับทาน

"ปลาดิบ ปลาร้า หรืออาหารดิบอื่นๆซึ่งมีผลที่ไม่แตกต่างกันก็ยิ่งน่าวิตกหนักขึ้นไปอีก"

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ไบโอแก๊ส พลังงาน จาก "ขี้หมู"

............................................................................................

"การใช้พลังงานทดแทน"  พลังงาน  "จากขี้หมู"  ช่วยลดมลพิษได้ เพื่อเป็นการประหยัด เพื่อเศรษฐกิจชาติ และเพื่อสิ่งแวดล้อม
“ไบโอแก๊สจากขี้หมู” ยุคนี้ก็ “มิใช่สิ่งที่น่าขำ”
เพราะช่วยประหยัด-ช่วยในด้านสิ่งแวดล้อมได้ !!


        การนำมูลสุกรหรือขี้หมูมาทำเป็นไบโอแก๊สหรือ “แก๊สชีวภาพ” และ “ผลิตกระแสไฟฟ้า” ที่ฟาร์มแห่งหนึ่งที่ จ.ร้อยเอ็ด ที่ทำเอง-ใช้เอง ก็ถือว่าน่าสนใจ การใช้ขี้หมูจากในฟาร์มทำเป็นแก๊สชีวภาพผลิตไฟฟ้าใช้ในฟาร์มนี้ สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 

ไบโอแก๊ส-แก๊สชีวภาพจากขี้หมู ก็ถือว่าเป็น “พลังงานทาง เลือก” อีกรูปแบบที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ แก๊สชีวภาพหรือไบโอแก๊สเป็นแก๊สที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรียวัตถุ ในกระบวนการ ย่อยสลายโดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนจะเกิดแก๊สชีวภาพขึ้น และในแก๊สชีวภาพนี้ก็ประกอบด้วย ก๊าซมีเทน (CH4), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ซึ่งคุณสมบัติของก๊าซมีเทนนั้นเป็นก๊าซที่ติดไฟได้ ดังนั้น “แก๊สชีวภาพ” ที่มีมีเทนอยู่เป็นจำนวนมากจึงสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนได้

สามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
รูปที่ 1 : เลี้ยงหมูในโรงเรือนปิด  (บูรพาฟาร์ม  จ. ร้อยเอ็ด)

"บ่อหมักไบโอแก๊สไม่เพียงให้แก๊สมาเป็นพลังงานทดแทน แต่ยังมีกากมูลสุกรเพื่อใช้ทำเป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน รวมทั้งน้ำที่ผ่านการบำบัดยังสามารถหมุนเวียนมาใช้ในแปลงเกษตรได้ด้วย"



รูปที่ 2  : เลี้ยงในระบบโรงเรือนปิด  (บูรพาฟาร์ม)

          ในฟาร์มเลี้ยงสุกรแต่ละแห่งนั้น แต่ละวันจะมีมูลสุกรเป็นจำนวนมาก ทำให้มีปัญหาเรื่องส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน นอกจากจะสร้างความรำคาญต่อชุมชนแล้วยังสร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อม โดยในขี้หมูนั้นมีก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่ ซึ่งก๊าซทั้ง  2 ชนิดเป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อมีการคิดค้นหาวิธีจัดการกับมูลสุกร และศึกษาการนำมูลสุกรมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนคือไบโอแก๊ส เพื่อใช้ผลิตเป็นไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านกระแสไฟฟ้า และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

รูปที่ 3 :  บ่อขี้หมูที่ไหลมารวมกันเพื่อจะนำไปทำไบโอแก๊ส

           สำหรับรูปแบบของบ่อหมักมูลสุกรที่ใช้ผลิตไบโอแก๊ส ที่ฟาร์ม แห่งนี้ทำในระบบบ่อหมักแบบพลาสติกคลุมบ่อ หรือระบบ Cover Lagoon เป็นบ่อหมักปิดสนิท ไม่มีปัญหากลิ่นเหม็นและแมลงวัน ซึ่งการทำลงทุนไม่สูง ใช้เวลาสร้างไม่นาน แค่นำพลาสติกมาคลุมบ่อหมักที่ทุกฟาร์มจะต้องมีกันอยู่แล้ว โดยบ่อหมักแบบนี้จะใช้ระยะเวลาในการหมักให้เกิดแก๊สประมาณ 10-20 วัน จากนั้นแก๊สที่เกิดขึ้นมาจะถูกส่งผ่านไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ Generator เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าไปใช้ในฟาร์มต่อไป
รูปที่  4  :   จะมีพลาสติกคลุมไว้ปิดสนิท  ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลงวัน

รูปที่  5 :  ส่วนกากของขี้หมู  ก็จะนำไปบรรจุขายให้กับเกษตรกร

รูปที่  6  :  บ่อพักขี้หมู

รูปที่ 7 :  ปล่อยขี้หมูให้ไหลลงบ่อพักขี้หมู

รูปที่  8  : ปล่อยขี้หมูลงในบ่อพักขี้หมู

"เลี้ยงหมูช่วยลดโลกร้อน  ลดปัญหาต่อชุมชน  เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร  ลดค่าไฟฟ้า  น่าสนใจ"
...........
................................